วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่10

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่9

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่8

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่7

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่6

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่5

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่4

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่3

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่2

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่1

บทที่ 6 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

                                                                         
โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

E-Mail คืออะไร

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที…
เราใช้ E-Mail ทำอะไรกัน

ปัจจุบันนี้ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลถึงกันสามารถทำได้อย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตนับเป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคน ติดต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อส่ง E-Mail

 E-Mail นับเป็นทางเลือกใหม่ของการติดต่อสื่อสาร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ทำให้การส่งหรือรับ E-Mail ไม่ว่าผู้ส่งและผู้รับจะอยู่ที่ใด เป็นไปได้ในช่วงเวลาที่สั้นและรวดเร็ว สามารถส่งหรือรับข้อมูลได้ทันที และตลอดเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับค่าโทรศัพท์ที่ใช้ และค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

เราใช้ E-Mail เพื่อส่งข้อมูลที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล (File) คอมพิวเตอร์ได้ทุกประเภท ไม่ว่านั่นจะเป็นเพียงข้อความจดหมายเพื่อพูดคุยธรรมดาหรือเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพ รวมทั้งยังสามารถแนบแฟ้มข้อมูลเอกสาร หรือข้อมูลต่างๆได้อีกด้วย

ในเชิงธุรกิจ E-Mail จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังสามารถส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับปลายทางได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการนำ E-Mail มาใช้เพื่อการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้อีกด้วย

มาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีใช้งาน E-Mail กัน

ในการใช้งาน E-Mail จำเป็นจะต้องมี E-Mail Address เสียก่อน โดย E-Mail Address จะเป็นเหมือนที่อยู่ทางอินเตอร์เน็ตของแต่ละคน มักจะแทนด้วยชื่อหรือรหัสที่ใช้แทนตัว แล้วตามด้วยชื่อของ Mail Server ที่ให้บริการ เช่น somchai@isp.co.th โดยทั่วไป E-Mail Address จะประกอบด้วย

- User ID ใช้เป็นชื่อหรือรหัสประจำตัวของผู้ใช้บริการแต่ละคน

- เครื่องหมาย @

- Domain Name ของ Mail Server ที่ใช้บริการ

เมื่อต้องการส่ง E-Mail มีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้รายละเอียด คือ

1. To: ระบุ E-Mail Address ของผู้รับปลายทาง

2. Subject: ใส่หัวเรื่องย่อๆของเนื้อหา

3. CC (Carbon Copy): เป็นการระบุ E-Mail Address ของผู้ที่เราต้องการให้ได้รับสำเนาของจดหมายฉบับนี้ด้วย

4. BCC (Blind Carbon Copy): เช่นเดียวกับ CC แต่ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าเราต้องการ ส่งใคร

5. Attachment: เราสามารถแนบไฟล์ไปกับการส่ง E-Mail ด้วยก็ได้

6. Body: เป็นเนื้อหาข้อความของจดหมาย

โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมล์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย

SMTP

SMTP (Simple Message Transfer Protocol ) ทำหน้าที่ส่งอีเมล์จากเซิร์ฟเวอร์ของผู้ส่งไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์ของผู้รับ

POP

กระบวนการส่งเมล์จะสิ้นสุดเมื่อผู้ส่งสั่งให้เมล์ไคลเอนท์ส่งข้อมูลไปถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ของผู้รับและอีเมล์นั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในเมล์บ็อกซ์ของผู้รับที่เครื่องเมล์เซิร์ฟเวอร์

IMAP

IMAP (Internet Message Access Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการจัดการเมล์บ็อกซ์

รูปแบบของอีเมล และอีเมลแอดเดรส

E-mail address : ที่อยู่การส่ง E-mail   
  • @ domain name
  • sakda@kku.ac.th 
  • ต้องไม่มี  ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่,  เว้นวรรค  
มีส่วนประกอบ 3 ส่วน
  • Username : ชื่อผู้ใช้
  • เครื่องหมาย :  เรียกว่า assign  อ่านออกเสียงว่า “at”  
  • domain name : ชื่อสถานีรับ-ส่ง E-mail

E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

ประเภทของอีเมล

อีเมล์ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการสื่อสารของโลกยุคปัจจุบัน สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพราะสะดวก ประหยัด และรวดเร็ว ดังนั้น การให้บริการมีหลายรูปแบบ ดังนี้

1. อีเมล์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ อีเมล์ที่ได้มาจากการที่เราสมัครสมาชิกของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)

2. อีเมล์จากองค์กร เช่น บริษัท สถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ

3. อีเมล์ฟรี คือ ว็บไซต์ที่ให้บริการรับส่งจดหมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำกัดกลุ่มบุคคล

ขั้นตอนการขอใช้บริการอีเมล์

1.ให้เข้าไปเพื่อลิงค์ที่   https://www.google.com/a/cpanel/standard/new3
2.หน้าแรก ของ Google Apps คลิกที่ ลงชื่อสมัครเข้าใช้ เพื่อลงทะเบียน
3.คลิกเลือกแพ็คเกจที่ต้องการ (ในที่นี้เลือก Standard Edition เนื่องจาก ฟรี!!)
การเขียนและการส่งจดหมาย

     จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ทั้งผู้รับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีที่อยู่เพื่อใช้ในการอ้างอิงการส่งและรับจดหมาย ที่อยู่สำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสองส่วนคือ รหัสผู้ใช้หรือ User ID ซึ่งจะได้รับจากผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนที่สองคือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ HostName โดยรูปแบบการเขียนจะเริ่มต้นด้วย User ID คั่นด้วยเครื่องหมาย @ ตามด้วย HostName ดังนี้ User ID @hostname ตัวอย่างเช่น u9999999@dusit.ac.th หมายถึงผู้ใช้มี User ID เป็น u9999999 และเป็นสมาชิกอยู่ที่ Host ชื่อ dusit.ac.th เป็นต้น
     จุดเด่นของอีเมล์ คือ สามารถแนบไฟล์ข้อมูลอื่นๆ ไปกับอีเมล์ได้ ซึ่งไฟล์ที่ติดไปนั้นอาจจะเป็นไฟล์ภาพ ไฟล์โปรแกรม หรือไฟล์ข้อมูลก็ได้ เมื่อส่งอีเมล์ไปมันจะวิ่งไปยังปลายทาง ในแทบจะทันที ไม่ว่าปลายทางจะอยู่ห่างออกไปใกล้เพียงฝ่ามือหรือไกลสุดขอบโลกก็ตาม     

อีเมล์แอดเดรส      ในการส่งจดหมายธรรมดาผู้ส่งจดหมายต้องทราบที่อยู่ของผู้รับก่อน การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ใช้หลักการเดียวกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนจะมีที่อยู่หรือแอดเดรสเป็นของตนเอง เช่นbudsayaphan@hotmail.com หรือ budsayaphan@yahoo.com โดยได้รับแอดเดรสจากการที่คุณสมัครเป็นสมาชิกตามเว็บที่มีการบริการอีเมล์
         แอดเดรสแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (user name) และชื่อโดเมน (domain name) ซึ่งผู้ใช้หมายถึงชื่อหรือชื่อใดๆ ของผู้ใช้อีเมล์ ข้างหลังชื่อผู้ใช้จะเป็นเครื่องหมาย @ (at sign) แปลว่า ที่คั่นระหว่างชื่อกับโดเมน
        ส่วนที่เป็นชื่อของโดเมนจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และสถานที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ เช่น Budsayaphan @ hotmail. com ชื่อผู้ใช้ ที่ ชื่อโดเมน รหัสโดเมนเป็นลำดับชั้นของเครือข่าย โดยจะใช้เครื่องหมาย จุด คั่นระหว่างลำดับชั้น ลำดับชั้นที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ทางด้านขวาสุด แนวความคิดของการแบ่งลำดับชั้นของโดเมนก็คล้ายกับการแบ่งที่อยู่ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ 

การส่ง E- Mail     ขั้นที่ 1  นำ Mouse ไป Click ที่ Compose     ขั้นที่ 2  หลังจากเลือก   Compose   แล้ว หลังจากนั้นมีวิธีการ ดังนี้
         -     หลังคำว่า To: ให้ใส่ชื่อ E-Mail ของคนที่เราต้องการจะส่ง Mail ไปหา หากต้องการส่งไปให้หลายคน ให้ใช้เครื่องหมาย Comma (,) คั่นระหว่าง E-Mail address ของแต่ละคน
         -     หลังคำว่า Subject: ให้ใส่ชื่อเรื่องของ E-Mail ของเรา หรืออาจจะไม่ใส่ก็ได้
         -     ในช่อง CC: เป็นการทำสำเนา (Carbon Copy )  ของ Mail ไปถึงผู้รับ โดยการใส่ชื่อ  E-Mail ของคนที่เราต้องการส่ง Mail ไปให้ (เพิ่มเติมจากใน To:  )
         -    ในช่อง Bcc: เป็นการทำสำเนาแบบ Blind Carbon Copy  ใช้ในกรณีที่ต้องการส่ง  E-Mail ถึงบุคคลอื่น โดยบุคคลที่เราส่ง E-Mail ไปให้ใน To: และ CC: จะไม่ทราบว่าเราส่งไปให้บุคคลนี้ด้วย
         -    ในกล่องใหญ่ในส่วนล่าง จะเป็นพื้นที่ในการเขียนข้อความที่เราต้องการที่จะส่ง
         -     เมื่อเขียนข้อความเสร็จแล้วให้นำ Mouse ไป Click ที่ปุ่ม “Send”

การส่ง File ข้อมูลใดๆ ไปกับ  E-Mail
ในกรณีที่เราต้องการส่ง File ใด ๆ ก็ตามแนบไปกับ E-mail ด้วย มีขั้นตอนการส่งดังนี้
           1.  นำ Mouse ไป  Click  ที่ปุ่มที่มีคำว่า “Attachments”
           2.  เลือก File ที่ต้องการจะส่ง โดยกดปุ่มที่มีคำว่า “Browse”
           3.  เมื่อเลือก File ที่ต้องการส่งได้แล้ว กดปุ่มที่มีคำว่า “Open”  แล้วจะเห็นว่า ชื่อ File ที่เราเลือกจะปรากฏอยู่ในช่องว่าง
           4.  ขั้นต่อมากดปุ่มที่มีคำว่า “Attachments” เพื่อแนบ File ไปกับ E-mail
           5.  เห็นได้ว่าชื่อ  File ที่ต้องการจะส่งจะปรากฏบนช่องว่าง ถ้าเราเกิดลังเลเปลี่ยนใจจะเปลี่ยนแปลง File ที่จะส่ง สามารถทำได้โดยการนำ Mouse ไป Click ที่ปุ่ม Remove ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้ Click ที่ปุ่ม Done (ในที่นี้ทาง Hotmail.com มีขีดความสามารถในการส่ง File มีขนาดสูงที่สุดได้ไม่เกิน  1 Mb  เท่านั้น)
           6. ขั้นตอนสุดท้ายคือ หลังจากที่เรากด Done แล้วจะกลับมายังหน้าจอเดิม การจะส่ง E-Mail ที่มีการแนบ File ใดๆ ไปด้วยนั้น ก็ให้ทำตามวิธีการส่ง E-Mail ตามปกติ  จะเห็นได้ว่าในส่วนที่มีคำว่า Attachments จะมีชื่อ File ที่เราแนบไปด้วย

มารยาทในการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
     ในการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไม่ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ล้วนๆ (ในกรณีที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ)  เพราะจะทำให้อ่านยาก การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ให้ใช้ได้เฉพาะข้อความที่ต้องการเท่านั้น ควรจ่าคำนำหน้าเชื่อมอย่างระมัดระวัง ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เมื่อได้รับจดหมายแล้วควรพิจารณาเนื้อหา และความหมายของถ้อยคำอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ในการรับสาร
 
ข้อดีของ E-mail
• ประหยัดเวลา
• ประหยัดเงิน
• สามารถส่งในรูปแบบมัลติมีเดียได้
• สามารถแนบไฟล์ที่เป็นเอกสารส่งได้
• สามารถส่งต่อข้อมูลหรือที่เรียกว่า forward ได้

ข้อจำกัดของ E-mail
• ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกคน
• ไม่ได้รับต้นฉบับซึ่งควรค่าแก่การเก็บรักษา
• อาจมีไวรัสมาพร้อมกับเอกสารที่ส่งมา
• ถ้าเครือข่ายล่ม ทำให้การส่งหรือรับข้อมูลล้มเหลว
• ถ้าข้อมูลใน mail box เต็มก็ไม่สามารถรับข้อมูลอื่นได้


องค์ประกอบภายในกล่องจดหมาย

การอ่านจดหมาย

ภายในกล่องจดหมายเข้า (Inbox) จะแสดงจดหมายที่อยู่ภายในกล่องเก็บจดหมายนี้ เมื่อเราคลิกเลือกที่ inbox หรือ Check Mail จะปรากฏจดหมายที่มีอยู่

การส่งต่อจดหมายกลับ

เมื่ออ่านจดหมายแล้วต้องการที่จะส่งจดหมายเพื่อตอลบกลับไปยังผู้ส่ง สามารถคลิกเลือกที่ Reply เราจะไม่ต้องพิมพ์ชื่อผู้รับอีก เพราะอีเมล์จะนำชื่อของผู้ส่ง (From) มาเป็นชื่อผู้รับ (To) พร้องทั้งชื่อเรื่องก็จะเป็นชื่อเดิม เพียงแต่เพิ่ม Re: หน้าชื่อเรื่องของจดหมาย

การส่งต่อจดหมาย

การส่งต่อจดหมาย หมายความว่า เมื่อเราส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังบุคคลอื่นๆ อีก คล้ายกับระบบจดหมายเวียนที่เราส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้อีกจำนวนมาก โดยไม่ต้องเสียเวลาที่จะเสียเวลาที่จะเขียนจดหมายทีละฉบับเพื่อส่งให้แต่ละคน จะเป็นการช่วยลดเวลาในการเขียนจดหมาย

การลบจดหมาย

เมื่อได้อ่านจดหมายแล้ว และถ้าไม่ต้องการเก็บจดหมายฉบับนี้ไว้อ่านอีก เราก็จะทำการลบจดหมายฉบับนั้นทิ้ง เพราะการใช้งานในอีเมล์นั้นเราจะได้รับเนื้อที่จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ ในการเก็บจดมายจำนวนจำกัด ขึ้นอยู่กับเมล์เซิร์ฟเวอร์จะกำหนด ดังนั้นถ้าเราเก็บจดหมายทุกฉบับไว้ก็จะทำให้ตู้เก็บจดหมายของเราเต็มได้ หรือจำนวนจดหมายมากเกินไป

การกู้จดหมายกลับคืน

การกู้จดหมายกลับคืนสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1. คลิกที่ Trash

2. คลิกเลือกจดหมายที่ต้องการกู้กลับคืน

3. คลิกที่ Move เพื่อกำหนดสถานมารที่ที่จะนำจดหมายจากถังขยะ (Trash) ไปเก็บไว้

1. (New Folder) ให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่ต้องการเก็บจดหมาย หรือ

2. Inbox ให้นำจดหมายไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายเข้า หรือถ้าได้มีการสร้างโฟลเดอร์ไว้แล้ว จะแสดงชื่อของโฟลเดอร์นั้นออกมาแสดงเพื่อไห้เราเลือก

4. แต่ถ้าต้องการลบจดหมายฉบับนี้ออกจากถังขยะ (Trash) ก็เพียงแต่คลิกเลือกจดหมายแลว้ให้คลิกที่ Delete จะเป็นการลบจดหมายออกจากถังขยะ (Trash) ทันที และจะไม่สามารถกู้จดหมายกลับคืนได้อีกต่อไป

(New Folder) ให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่ต้องการเก็บจดหมาย หรือ

Inbox ให้นำจดหมายไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายเข้า หรือถ้าได้มีการสร้างโฟลเดอร์ไว้แล้ว จะแสดงชื่อของโฟลเดอร์นั้นออกมาแสดงเพื่อไห้เราเลือก

บทที่5 เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)
เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เว็บ” เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่ายใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดนและ กลายเป็นแหล่งทรัพยากรของกระบวนการเรียนการสอน ที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
 เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนาแฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมทำให้ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจากWWW เป็นบิรการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่ม เมาส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (งามนิจ อาจอินทร์. 2542)
ส่วนประกอบของเวิลด์ไวด์เว็บจำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสองส่วน ที่สำคัญดังนี้ 
1) แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
2) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์ คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดู เว็บเพจที่เก็บอยู่ในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ (UNIX)หรือวินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่น เว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://www.swu.ac.th เป็นต้น เว็บเพจ เป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปของแฟ้มข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงได้โดยใช้ประแกรมประเภท Browser เช่นNetscape หรือ Internet Explorer ความยาวของเว็บเพจนั้นไม่แน่นอน อาจจะมีความยาวหลายหน้ากระดาษก็ได้ ถ้าเว็บเพจนั้นเป็นเพจแรกของไซต์นั้น ๆ ซึ่งมักมีสารบัญของเนื้อหาของไซต์นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (HomePage)

หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)
            หมายเลขประจำเครื่อง  หรือที่อยู่(address) ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละคน จะมีที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขระบุตำแหน่ง เช่น 202.44.202.22 เป็นต้น แต่ระบบตัวเลขนี้จะสามารถจดจำได้ยาก และไม่สื่อความหมายต่อผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นระบบตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำและสื่อให้เข้ากับงานเรียกว่า
DNS(Domain Name System)  โดยเรียงลำดับความสำคัญ ของชื่อจากขวาไปซ้าย เช่น
1202.244.3202.422
www.2tu.3ac.4th
1. www มาจาก World Wide Web
2.  tu มาจาก Thammasat University
3.  ac มาจาก Academic (ด้านวิชาการ)
4. th มาจาก thailand (ชื่แประเทศ)


โดเมนเนม (Domain Name)
ชื่อโดเมน (Domain Name) ความหมายโดยทั่วไป คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน
ชื่อโดเมน (Domain Name) หมาย ถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) ( IP Address นั้นจะได้จากที่เราทำการใช้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือ พื้นที่เว็บไซต์ )  เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่อง ไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง หน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain name
   1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
   2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
   3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ถือว่าเหมือนกัน
   4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ Domain name แต่สามารถใช้ในระหว่างคำได้
   5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อ Domain
   6. การตั้งชื่อ Domain ควรสื่อ ถึงความหมาย ของเว็บไซต์เราให้มากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อSearch Engine ( SEO )

หลักการตั้งชื่อ domain มีความสำคัญกับเว็บไซต์เรายังไง ?

   1. การตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับSearch Engine ( SEO )
   2. การตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine (SEO) 

รูปแบบการตั้ง Domain Name ตามหลักการของ Internet

    มีรูปแบบ รูปแบบใหญ่ๆ คือ
   1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก แบบย่อย คือ
          * โด เมนเนมสากล หรือ gTLD (generic Top-Level Domain Name) เป็นการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น .com, .net, .org สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
          * โด เมนเนมประจำสัญชาติ หรือ ccTLD (country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดแบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ เช่น .th (ไทย) , .uk (อังกฤษ), .jp (ญี่ปุ่น), .เป็นต้น
   2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็น Sub โดเมนที่แบ่งออกจาก TLD โดยอยู่ตำแหน่งถัดจาก TLD มาทางด้านซ้ายมือ เช่น .ac สำหรับสถาบันทางการศึกษา .co สำหรับองค์กรธุรกิจ
   3. โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain เป็น Sub โดเมนที่ถูกแบ่งออกจาก SLD อีกชั้นหนึ่งและมีตำแหน่งถัดจากSLD ทางด้ายซ้ายมือ ใช้เป็นชื่อย่อขององค์กร เช่น thaihostclub เป็นต้น



      รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล

 โปรแกรมสืบค้นหาข้อมูล


            ในการสืบค้นข้อมูลนั้นจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูล  ซึ่งมีอยู่หลายประเภท  ได้แก่  
         1.  โปรแกรมอาร์คี (Archie)  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูลที่เราทราบชื่อ  แต่ไม่ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ของแฟ้มข้อมูล  ว่าอยู่ในเครื่องบริการใดๆ ในอินเตอร์เน็ต  โดยโปรแกรมอาร์คีนั้นจะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ใน ฐานข้อมูล  ซึ่งหากเราต้องการค้นหาตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลก็เปิดโปรแกรมอาร์คีนี้ขึ้นมาล้วให้พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูล ที่ต้องการลงไป  โดยโปรแกรมอาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลให้ปรากฏชื่อแฟ้ม และ รายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นขึ้นมา ซึ่งหลังจากทราบชื่อเครื่องบริการแล้วเราก็จะสามารถใช้ FTP ถ่ายโอนเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราไ้้ด้

         2.  โปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูล  ซึ่งใช้บริการด้วยระบบเมนูโปรแกรมโกเฟอร์ เป็นโปรแกรม ที่มีรายการเลือก  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูล
การใช้งาน โปรแกรมนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบ รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมโยงอยู่กับอินเตอร์เน็ตใดๆ เลย  เราแค่เพียงเลือกรายการที่ต้องการในรายการเลือก และกดปุ่ม ซึ่งเมื่อมีข้อมูลแสดงขึ้นมาแล้ว เราก็สามารถอ่านข้อมูลนั้น และบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้



         3.  โปรแกรม Veronica เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามาจากโปรแกรมโกเฟอร์  โดยการค้นหาข้อมูล  จะทำได้โดยไม่ต้องผ่านระบบเมนู  เพียงแค่พิมพ์คำสำคัญ  หรือ  ให้ระบบได้ทำการค้นหาข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword
         4.  โปรแกรมเวส (Wide Area Information Server-WAIS)  เป็นโปรแกรมที่เป็น
เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล โดยทำการค้นหาจากเนื้อหาของข้อมูล  ซึ่งการใช้งา้นต้องระบุ
ุชื่อเรื่อง  หรือชื่อของคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข้อมูล ที่ต้องการ  ซึ่งโปรแกรมเวสจะช่วยค้นหาไปยังแหล่งข้อมูลที่เชื่อมต่ออยู่ภายในอินเตอร์เน็ต

         5. โปรแกรม Search Engines เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  โดยให้พิมพ์คำ  หรือข้อความที่เป็น Keyword จากนั้นโปรแกรม Search
Engines จะแสดงรายชื่อของแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ี่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้เราได้เลือกคลิกที่รายชื่อของแหล่งข้อมูลนั้น  เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการได้  ซึ่งการจัดการแหล่งข้อมูลเหล่านั้นโปรแกรม Search Engines จะจัดไว้เป็นเมนู  โดยเริ่มจากข้อมูลในหมวดใหญ่ๆ ไปจนถึงข้อมูลในหมวดย่อยๆ   

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)

จากการที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอยู่ทั่วโลกนั่น เป็นผลมาจากความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล (link) จากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเชื่อมโยงข้อความได้ทั้งจากภายในแฟ้มเอกสารข้อมูลของภายใน และแฟ้มเอกสารข้อมูลภายนอก

ข้อความที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลนั้น จะมีตัวอักษรเป็นสีน้ำเงิน (หรือสีอื่นตามแต่ที่ผู้สร้างกำหนดขึ้นมา) เมื่อเลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ข้อความซึ่งมีการเชื่อมโยง รูปแบบของตัวชี้จะเปลี่ยนจาก สัญลักษณ์ลูกศรไปเป็นรูปมือแทน
ประเภทของการเชื่อมโยง ใน HTML แบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
  • การเชื่อมโยงนอกเว็บไซต์
     
ตำแหน่งสำหรับคลิกเพื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูล จะเรียกว่าจุดเชื่อมโยง หรือจุด Link ซึ่งใช้ได้ทั้งตัวอักษร ข้อความ หรือรูปภาพ
คำสั่งที่ใช้เชื่อมคือ  หรือ URL" >ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link
       Attribute ที่ใช้ร่วมกับการสร้าง Link ซึ่งจะต้องนำมาวางต่อจากคำสั่งสร้าง link และใช้คำสั่ง target= คุณสมบัติด้านล่าง เช่น
     target=_blank>ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link


    _blank   = เปิดหน้าเอกสารใหม่โดยที่หน้าเดิมยังคงอยู่
    _self      = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไปบางส่วน หากว่าใช้กับ เฟรม
    _parent = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไป
    _top      = เปิด file ที่หน้าเดิมโดยจะไปด้านบนสุดของหน้าเว็บเพจ

บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต

  ความหมายของอินเทอร์เน็ต
           อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “InterConnection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้ 
           การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก 
  

         ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต 

           เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น  ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960   ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา  หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง  ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย  แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้  เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย ในปี ค.ศ.  1983  ได้มีการนำ  TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol  มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก  จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน ในปี  ค.ศ.  1986  มีการกำหนดชื่อโดเมน  (Domain name System)  เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย  และใช้  ISP  (Internet Service Provider)  ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง 
           ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม 
  
         อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย 

           การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า  แคมปัสเน็ตเวิร์ก  (Campus Network)  ในปี พ.ศ.  2530  โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  หรือ AIT ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย 
ในปี พ.ศ.  2531  ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย  ซึ่งก็ได้รับที่อยู่  Sritrang.psu.th  ซึ่งเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย 
หลังจากนั้นก็ได้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด  24  ชั่วโมง  เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  ในเดือนกรกฎาคม  พ.ศ.  2535  โดยสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร  สื่อสารความเร็ว  9,600  บิตต่อวินาที  จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย 

         การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
           เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและให้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา  
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronoc mail หรือ e-mail )
           เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว หากต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะจำส่งทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของอยู่ที่จะเป็นขื่อรหัสให้และขื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@ipst.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปยังปลายางได้อย่างถูกต้อง การับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย 
           ปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเป็นข้อมูลแบบใดก็ได้ทีอยู่ในรูปแบบของดิจทัล  (digital) และสามารถใช้ภาษาอะไรก็ได้ 
2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP)
           เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สมารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น 
3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) 
           การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย เช่น นักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง 
4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) 
           ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปส่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สมารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (Wold Wide Wed : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก 
5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (USENET) 
           ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว 
6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) 
           เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทีนทีทันใดบนจอภาพ ตอมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้ 
7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย 
           เป็นการ ประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดีทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดีทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร            
8) การบริการบนอินเทอร์เน็ต 
           ปัจจุบันมีการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมากมายโดยผู้ใช้สามารถใช้บริการโดยอยู่ที่ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง การบริการบนอินเทอร์เน็ตมีทั้งเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ซื้อข่ายสินค้า ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบริการอื่นๆ ซึ่งการให้บริการเหล่านี้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้ 


         ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
           อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
           เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย     
2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet) 
           เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง     
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) 
           เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง    
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) 
           หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น     
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) 
           เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง    
6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) 
           เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม     
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) 
           เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก     
8.การให้ความบันเทิง(Entertain) 
           ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น

โทษของอินเตอร์เน็ต
1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic) 
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
           การเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
  รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
  มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
  ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
  รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
  ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
  หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
  การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
  มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
  ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)            
           เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ 
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
 ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม2542


บัญญัติ 10 ประการ สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
                ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้
เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ 

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท
                จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้อง
ปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อ
ประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์
การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วย
ให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป


หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย 
                ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
                ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
                THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
                NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
                ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ

แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต ผลสำรวจ ในปี 2553

                สสช. เผยผลสำรวจการใช้งานไอซีทีปี 53 พบคนใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มือถือ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ ผู้ปกครองห่วงเว็บลามกอนาจาร เกมส์ออนไลน์ วอนรัฐคุมเข้มด้วยบทลงโทษที่เด็ดขาด…
                 นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ สสช. กล่าวว่า ผลการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ปี 2553 พบว่า มีจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปทั้งสิ้นประมาณ 61.9 ล้านคน  ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 19.1 ล้านคน หรือ 30.9%  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13.8 ล้านคน หรือ 22.4% และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 38.2 ล้านคน หรือ 61.8% เมื่อพิจารณาระหว่างเขตการปกครอง ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 43.4% ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 35.1% และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 72.2% โดยมีสัดส่วนการใช้สูงกว่านอกเขตเทศบาล คือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 25.2% ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 16.5% และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 57%
                ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือคนใช้งานเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไปในระหว่างปี 2547-2553 พบว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 21.4% (จำนวน 12.5 ล้านคน) เป็น 30.9% (จำนวน 19.1 ล้านคน) และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก 11.9% (จำนวน 7.0 ล้านคน) เป็น 22.4% (จำนวน 13.8 ล้านคน)  และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจาก 28.2% (จำนวน 16.6 ล้านคน)  เป็น 61.8% (จำนวน 38.2 ล้านคน)
                ผู้อำนวยการ สสช. กล่าวต่อว่า แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประชาชนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีช่องว่างในการใช้ระหว่างผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล  กล่าวคือในช่วงปี 2547 - 2553 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเขตเทศบาล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 33.2% เป็น 43.4% ส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจาก 15.6% เป็น 25.2% ในขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเขตเทศบาล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 21.4% เป็น 35.1% ส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อยู่นอกเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจาก 7.2% เป็น 16.5%
                ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ พบว่า ในช่วงปี 2547-2553 สัดส่วนของผู้ใช้นอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าในเขตเทศบาล กล่าวคือ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 41.9% เป็น 72.2% ส่วนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อยู่นอกเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจาก 21.5%  เป็น 57%
                นายวิบูลย์ทัต กล่าวต่อว่า คนกรุงเทพใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือมากที่สุด เมื่อพิจารณาสัดส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือเป็นรายภาค พบว่าในปี 2553 กรุงเทพฯ มีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด คือ 47.4% รองลงมาคือภาคกลาง 31.7% ภาคใต้ 29.3% ภาคเหนือ 28.9%  และต่ำสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27.2% ส่วนการใช้อินเทอร์เน็ต กรุงเทพฯ มีผู้ใช้มากที่สุด คือ 39.6% รองลงมาคือ ภาคกลาง 22.3% ภาคเหนือ  21.2% ภาคใต้ 19.9% และต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18.9%
                ขณะที่ การใช้โทรศัพท์มือถือ กรุงเทพมฯ มีสัดส่วนของผู้ใช้มากที่สุดเช่นเดียวกัน คือ 77.3% รองลงมา ภาคกลาง 66.9% ภาคเหนือ 60.5% ภาคใต้ 58.8% และต่ำสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 55.4%
                นอกจากนี้ ยังพบว่า สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศหญิงสูงกว่าเพศชายเล็กน้อย โดยในช่วงปี 2547-2553  สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศชายเพิ่มขึ้นจาก 11.3% เป็น 21.9% และสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตของเพศหญิงเพิ่มขึ้นจาก 12.5% เป็น 22.8%
                ส่วนวัยรุ่นนิยมใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณาการใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มอายุต่าง ๆ พบว่าในปี 2553 กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด 50% รองลงมาคือกลุ่มอายุ  6-14 ปี 35.9% กลุ่มอายุ 25-34 ปี 24.6% กลุ่มอายุ 35-49 ปี 13.6% และต่ำสุดในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป 4.2%
                สำหรับสถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตพบว่าในปี 2553 ส่วนใหญ่ใช้ในสถานศึกษา 45.3% รองลงมาคือ บ้าน 35.5% และที่ทำงาน 29% ส่วนกิจกรรมที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทั่วไป 82.2% รองลงมาคือรับ–ส่งอีเมล์ 26.5% และเล่นเกมส์ ดาวน์โหลดเกมส์ 25.6%  สำหรับความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ค่อนข้างบ่อย (1-4 วันใน 1 สัปดาห์) 58.4% รองลงมาใช้เป็นประจำ (5-7 วันใน 1 สัปดาห์) 26.3%
                โทรศัพท์พื้นฐานลดลง แต่ใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในระหว่างปี 2549 - 2553 พบว่าครัวเรือนที่มีโทรศัพท์พื้นฐานมีแนวโน้มลดลง จาก 23.4% เป็น 20.9% ครัวเรือนที่มีเครื่องโทรสารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5% เป็น 1.7% ครัวเรือนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นจาก 17.1% เป็น 22.8% สำหรับครัวเรือนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 7.2% เป็น 11.4%
                สำหรับ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของครัวเรือน พบว่า ในปี 2553 มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยประเภท       DSL Cable modem และ fixed broadband มากที่สุด 57.4% รองลงมา Analogue modem ISDN  23.6% แบบไร้สายเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือ 2G, 2.5G  เช่น GSM CDMA GPRS) 9.5% และ แบบไร้สายเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือ 3G เช่น WCDMA EV-DO) 3% ไม่แน่ใจว่าใช้อินเทอร์เน็ตประเภทใด 6.4%  และอื่น ๆ 0.1%
                ส่วนข้อคิดเห็นที่ครัวเรือนต้องการให้ภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ ควบคุมเว็บไซต์ที่ลามกอนาจาร  ควบคุมราคา/อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ควบคุมผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต/เกมส์ออนไลน์  มีบทลงโทษที่เด็ดขาดสำหรับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์  และควบคุมราคา/อุปกรณ์คอมพิวเตอร์