วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่5 เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)
เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เว็บ” เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่ายใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดนและ กลายเป็นแหล่งทรัพยากรของกระบวนการเรียนการสอน ที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
 เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนาแฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมทำให้ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจากWWW เป็นบิรการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่ม เมาส์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น (งามนิจ อาจอินทร์. 2542)
ส่วนประกอบของเวิลด์ไวด์เว็บจำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสองส่วน ที่สำคัญดังนี้ 
1) แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
2) โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์ คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดู เว็บเพจที่เก็บอยู่ในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ ยูนิกซ์ (UNIX)หรือวินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่น เว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://www.swu.ac.th เป็นต้น เว็บเพจ เป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ ( Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปของแฟ้มข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงได้โดยใช้ประแกรมประเภท Browser เช่นNetscape หรือ Internet Explorer ความยาวของเว็บเพจนั้นไม่แน่นอน อาจจะมีความยาวหลายหน้ากระดาษก็ได้ ถ้าเว็บเพจนั้นเป็นเพจแรกของไซต์นั้น ๆ ซึ่งมักมีสารบัญของเนื้อหาของไซต์นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (HomePage)

หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address)
            หมายเลขประจำเครื่อง  หรือที่อยู่(address) ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแต่ละคน จะมีที่อยู่ประจำเครื่อง ซึ่งกำหนดเป็นตัวเลขระบุตำแหน่ง เช่น 202.44.202.22 เป็นต้น แต่ระบบตัวเลขนี้จะสามารถจดจำได้ยาก และไม่สื่อความหมายต่อผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นระบบตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำและสื่อให้เข้ากับงานเรียกว่า
DNS(Domain Name System)  โดยเรียงลำดับความสำคัญ ของชื่อจากขวาไปซ้าย เช่น
1202.244.3202.422
www.2tu.3ac.4th
1. www มาจาก World Wide Web
2.  tu มาจาก Thammasat University
3.  ac มาจาก Academic (ด้านวิชาการ)
4. th มาจาก thailand (ชื่แประเทศ)


โดเมนเนม (Domain Name)
ชื่อโดเมน (Domain Name) ความหมายโดยทั่วไป คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน
ชื่อโดเมน (Domain Name) หมาย ถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) ( IP Address นั้นจะได้จากที่เราทำการใช้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือ พื้นที่เว็บไซต์ )  เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่อง ไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง หน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน
หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain name
   1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
   2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
   3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ถือว่าเหมือนกัน
   4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ Domain name แต่สามารถใช้ในระหว่างคำได้
   5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อ Domain
   6. การตั้งชื่อ Domain ควรสื่อ ถึงความหมาย ของเว็บไซต์เราให้มากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อSearch Engine ( SEO )

หลักการตั้งชื่อ domain มีความสำคัญกับเว็บไซต์เรายังไง ?

   1. การตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับSearch Engine ( SEO )
   2. การตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine (SEO) 

รูปแบบการตั้ง Domain Name ตามหลักการของ Internet

    มีรูปแบบ รูปแบบใหญ่ๆ คือ
   1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก แบบย่อย คือ
          * โด เมนเนมสากล หรือ gTLD (generic Top-Level Domain Name) เป็นการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น .com, .net, .org สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
          * โด เมนเนมประจำสัญชาติ หรือ ccTLD (country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดแบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ เช่น .th (ไทย) , .uk (อังกฤษ), .jp (ญี่ปุ่น), .เป็นต้น
   2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็น Sub โดเมนที่แบ่งออกจาก TLD โดยอยู่ตำแหน่งถัดจาก TLD มาทางด้านซ้ายมือ เช่น .ac สำหรับสถาบันทางการศึกษา .co สำหรับองค์กรธุรกิจ
   3. โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain เป็น Sub โดเมนที่ถูกแบ่งออกจาก SLD อีกชั้นหนึ่งและมีตำแหน่งถัดจากSLD ทางด้ายซ้ายมือ ใช้เป็นชื่อย่อขององค์กร เช่น thaihostclub เป็นต้น



      รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล

 โปรแกรมสืบค้นหาข้อมูล


            ในการสืบค้นข้อมูลนั้นจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูล  ซึ่งมีอยู่หลายประเภท  ได้แก่  
         1.  โปรแกรมอาร์คี (Archie)  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูลที่เราทราบชื่อ  แต่ไม่ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ของแฟ้มข้อมูล  ว่าอยู่ในเครื่องบริการใดๆ ในอินเตอร์เน็ต  โดยโปรแกรมอาร์คีนั้นจะสร้างบัตรรายการแฟ้มไว้ใน ฐานข้อมูล  ซึ่งหากเราต้องการค้นหาตำแหน่งของแฟ้มข้อมูลก็เปิดโปรแกรมอาร์คีนี้ขึ้นมาล้วให้พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูล ที่ต้องการลงไป  โดยโปรแกรมอาร์คีจะตรวจค้นฐานข้อมูลให้ปรากฏชื่อแฟ้ม และ รายชื่อเครื่องบริการที่เก็บแฟ้มนั้นขึ้นมา ซึ่งหลังจากทราบชื่อเครื่องบริการแล้วเราก็จะสามารถใช้ FTP ถ่ายโอนเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราไ้้ด้

         2.  โปรแกรมโกเฟอร์ (Gopher) เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูล  ซึ่งใช้บริการด้วยระบบเมนูโปรแกรมโกเฟอร์ เป็นโปรแกรม ที่มีรายการเลือก  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูล
การใช้งาน โปรแกรมนี้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบ รายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมโยงอยู่กับอินเตอร์เน็ตใดๆ เลย  เราแค่เพียงเลือกรายการที่ต้องการในรายการเลือก และกดปุ่ม ซึ่งเมื่อมีข้อมูลแสดงขึ้นมาแล้ว เราก็สามารถอ่านข้อมูลนั้น และบันทึกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้



         3.  โปรแกรม Veronica เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลที่ได้รับการพัฒนามาจากโปรแกรมโกเฟอร์  โดยการค้นหาข้อมูล  จะทำได้โดยไม่ต้องผ่านระบบเมนู  เพียงแค่พิมพ์คำสำคัญ  หรือ  ให้ระบบได้ทำการค้นหาข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword
         4.  โปรแกรมเวส (Wide Area Information Server-WAIS)  เป็นโปรแกรมที่เป็น
เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล โดยทำการค้นหาจากเนื้อหาของข้อมูล  ซึ่งการใช้งา้นต้องระบุ
ุชื่อเรื่อง  หรือชื่อของคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของข้อมูล ที่ต้องการ  ซึ่งโปรแกรมเวสจะช่วยค้นหาไปยังแหล่งข้อมูลที่เชื่อมต่ออยู่ภายในอินเตอร์เน็ต

         5. โปรแกรม Search Engines เป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  โดยให้พิมพ์คำ  หรือข้อความที่เป็น Keyword จากนั้นโปรแกรม Search
Engines จะแสดงรายชื่อของแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ี่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้เราได้เลือกคลิกที่รายชื่อของแหล่งข้อมูลนั้น  เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการได้  ซึ่งการจัดการแหล่งข้อมูลเหล่านั้นโปรแกรม Search Engines จะจัดไว้เป็นเมนู  โดยเริ่มจากข้อมูลในหมวดใหญ่ๆ ไปจนถึงข้อมูลในหมวดย่อยๆ   

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)

จากการที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอยู่ทั่วโลกนั่น เป็นผลมาจากความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล (link) จากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเชื่อมโยงข้อความได้ทั้งจากภายในแฟ้มเอกสารข้อมูลของภายใน และแฟ้มเอกสารข้อมูลภายนอก

ข้อความที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลนั้น จะมีตัวอักษรเป็นสีน้ำเงิน (หรือสีอื่นตามแต่ที่ผู้สร้างกำหนดขึ้นมา) เมื่อเลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ข้อความซึ่งมีการเชื่อมโยง รูปแบบของตัวชี้จะเปลี่ยนจาก สัญลักษณ์ลูกศรไปเป็นรูปมือแทน
ประเภทของการเชื่อมโยง ใน HTML แบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
  • การเชื่อมโยงนอกเว็บไซต์
     
ตำแหน่งสำหรับคลิกเพื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูล จะเรียกว่าจุดเชื่อมโยง หรือจุด Link ซึ่งใช้ได้ทั้งตัวอักษร ข้อความ หรือรูปภาพ
คำสั่งที่ใช้เชื่อมคือ  หรือ URL" >ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link
       Attribute ที่ใช้ร่วมกับการสร้าง Link ซึ่งจะต้องนำมาวางต่อจากคำสั่งสร้าง link และใช้คำสั่ง target= คุณสมบัติด้านล่าง เช่น
     target=_blank>ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link


    _blank   = เปิดหน้าเอกสารใหม่โดยที่หน้าเดิมยังคงอยู่
    _self      = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไปบางส่วน หากว่าใช้กับ เฟรม
    _parent = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไป
    _top      = เปิด file ที่หน้าเดิมโดยจะไปด้านบนสุดของหน้าเว็บเพจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น